Skip to content

ในวงการกราฟฟิค โปรแกรมจากค่าย adobe ถือเป็นสุดยอดเครื่องมือที่จะขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด ตัวพื้นฐานที่ทุกคนต้องใช้งานได้ และมักจะเป็นโปรแกรมเริ่มต้นสำหรับการเรียนรู้ตัวอื่นๆ ก็คือ Adobe photoshop นี่คือโปรแกรมสำหรับการตกแต่งภาพและสร้างภาพเคลื่อนไหว ซึ่งคนที่ลองทำใหม่ๆ อาจจะรู้สึกว่ายุ่งยากมาก แต่พอทำไปสัก 2-3 ครั้งก็จะพบความจริงว่ามันง่ายยิ่งกว่าเราวาดในกระดาษเสียอีก ครั้งนี้ก็เลยจะมาสอนพื้นฐานง่ายๆ สำหรับการทำภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรมนี้กัน

ขั้นตอนการทำภาพเคลื่อนไหวตระกูล GiF

สำหรับภาพเคลื่อนไหวเราสามารถแบ่งได้หลายประเภท ถ้ายาวหน่อยก็จะเป็นวิดีโอหรืออะนิเมชั่นไป แต่ถ้าสั้นๆ เรามักจะเรียกว่าไฟล์ GiF หน้าตาก็เหมือนกับภาพตลกๆ ที่เรากดเม้นท์เพื่อนในช่องข้อความของเฟซบุคนั่นเอง มันเป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวช่วงสั้นๆ ด้วยท่าทางแบบเดียว แล้ววนซ้ำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ข้อดีของไฟล์ประเภทนี้ก็คือ หลังการเซฟจะไม่มีรายละเอียดของข้อมูลที่เสีีียไประหว่างทาง แถมยังปรับแต่งให้เป็นไฟล์ที่มีพื้นฐานโปร่งใสได้อีกด้วย อย่ารอช้าเราไปลงมือทำกันเลย

1. เตรียมโปรแกรม Adobe photoshop ให้พร้อม

          ก่อนอื่นก็ต้องมีโปรแกรมกันก่อน สามารถดาวน์โหลดได้จากหลายที่ แต่เวลาใช้งานจริงมันจะลิงค์ไปที่เว็บไซต์หลักของค่าย adobe อยู่ดี เราต้องทำการสมัครสมาชิกก่อนเร่ิมใช้งาน ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ จะจ่ายแบบรายเดือนหรือรายปีก็ได้ทั้งนั้น ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบด้วยว่าสเปคคอมพิวเตอร์่ของเรารองรับงานกราฟฟิคหรือไม่

2. เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาก็จะเป็นหน้าจอเป็นพื้นหลังสีดำ กรอบด้านข้างมีเครื่องมือมากมายให้เลือกใช้ โดยเราสามารถดูคุณสมบัติของมันได้ด้วยการชี้เม้าท์ค้างไว้ ก็จะมีข้อความอธิบายขึ้นมา ให้ไปที่เมนูแล้วเลือก File เพื่อเปิดหาภาพที่เราต้องการเอาไปทำเป็นภาพเคลื่อนไหว มีกี่ภาพก็เลือกมาให้หมดในคราวเดียวไปเลย

3. เรียงลำดับภาพตามต้องการ

หากมีหลายภาพเราก็เรียงตามที่วางแผนเอาไว้ แต่ถ้ามีภาพเดียวแล้วจะเปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนอะไรนิดหน่อย ก็ใช้วิธีการคัดลอกแล้ววางทับลงไปแทน อยากได้เท่าไรก็คัดลอกแล้ววางได้เต็มที่ แต่อย่าให้มันมากเกินไป ไม่อย่างนั้นก็คงกลายเป็นวิดีโอยาวมากกว่าเป็นไฟล์ GiF

4. แปลงภาพให้เป็น GiF

เลือกเมนู Timeline แล้วไปที่ Create Frame Animation จากนั้นให้ปิดเลเยอร์ภาพอื่นๆ ก่อน เหลือไว้แค่ภาพแรกเพื่อกำหนดระยะเวลาการแสดงภาพ จะมีเวลาให้เลือกตั้งแต่ 0.1 วินาทีขึ้นไป เสร็จแล้วก็เลือก Duplicated selected frame ให้ทำวนลูปแบบนี้กับภาพทุกภาพที่เลือกมาไว้จนครบถ้วน

5. ทดสอบผลงาน

มาถึงขั้นตอนการตรวจสอบแล้วว่าระยะเวลาที่เราเลือกไว้ ช้าไปหรือเร็วเกินไปหรือไม่ ให้กดที่ฟังก์ชัน Play Animation โปรแกรมก็จะรันไฟล์ไปโดยอัตโนมัติ และนี่ก็คือส่ิ่งที่เราจะได้หลังจากทำการบันทึกงานไปแล้ว หากยังไม่ถูกใจให้กลับไปแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน แต่ถ้าทั้งหมดเป็นไปอย่างที่คิดแล้วก็บันทึกงานได้เลย โดยไปที่ File แล้วเลือก Save for web ตรงนี้ต้องดูดีๆ อย่าใจร้อนเด็ดขาด เพราะถ้าเลือกการเซฟผิดประเภท ไฟล์ก็ทำงานไม่ได้เหมือนกัน ระหว่างการบันทึกโปรแกรมจะถามเราด้วยว่าต้องการบันทึกในรูปแบบไฟล์อะไร ก็ให้เลือกนามสกุล GiF พร้อมกับเลือกการวนลูปเป็น Forever ด้วย ไฟล์จะได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหยุด แค่นี้ก็ได้ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบง่ายๆ ไปใช้กันแล้ว เราสามารถฝึกบ่อยๆ จนทำภาพ GiF ที่มีรายละเอียดมากๆ ได้ในไม่ช้า เวลาที่อ่านตามขั้นตอนที่แนะนำเพียงอย่างเดียว อาจจะรู้สึกว่ามันยุ่งยากและดูสับสน แนะนำให้เปิดโปรแกรมแล้วลงมือทำไปพร้อมกันจะดีกว่า รับรองว่าทำครั้งเดียวก็จำได้แล้ว

ขึ้นชื่อว่าเพลงคลาสสิกพื้นฐานสำคัญก็คือต้องมีดนตรีที่เน้นฟังง่าย ผ่อนคลายสมอง ฟังแล้วไม่รู้สึกเครียดหรือหนักมากจนทำให้เกิดความอึดอัด เครื่องดนตรีที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเพลงคลาสสิกมายาวนานมากๆ ก็คือ เปียโน สังเกตว่าเวลามีเพลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกจะต้องมีเปียโนเข้าไปเป็นส่วนร่วมด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามเชื่อว่ามีคนอีกจำนวนไม่น้อยพยายามอยากรู้จักกับเพลงเปียโน หรือดนตรีคลาสสิกให้มากขึ้น ว่ากันว่าเพลงประเภทนี้ดีต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน นอกจากเรื่องสมองยังมีเรื่องจิตใจ รวมถึงเด็กๆ ที่ได้ฟังก็จะมีพัฒนาการที่ดีด้วย จึงอยากแนะนำกับดนตรีคลาสสิกในบทเพลงที่ฟังง่าย ไพเราะจากเปียโน ผ่อนคลายสมองสุดๆ

บทเพลงเปียโน ดนตรีคลาสสิก ฟังก็ง่าย ช่วยผ่อนคลายสมอง

1. Symphony No.5 – Beethoven

เชื่อว่าเพลงคลาสสิคเพลงนี้แค่ได้ยินก็คงคุ้นชินกันดีเพียงแต่อาจไม่รู้ว่านี่คือเพลงอะไรกันแน่ มันไม่ใช่เรื่องของการแสดงดนตรีที่ไพเราะสวยงามเท่านั้นแต่บทเพลงทุกท่อนยังส่งกลิ่นอายของความพิเศษเอาไว้ชนิดที่ยังคงเป็นเพลงอมตะนิรันดรกาล ไม่สามารถหาเพลงใดมาเปรียบได้ ท่อนแรกจะแสดงถึงความคักคัด ฮึกเหิม ช่วยเพิ่มอัตราความสบายใจให้กับคนฟังได้ในระดับที่ดี ท่อน 2 เน้นความช้าแต่ให้รู้สึกถึงกลิ่นอายแห่งความดำดิ่งในเนื้อหาและท่วงทำนองชนิดหาใดเปรียบไม่ได้ ท่อน 3 เริ่มกลับมาสู่ความรวดเร็วอันแสดงถึงการต่อสู้อันแสนหนักหน่วงแต่ก็ทำให้ดีที่สุด และท่อน 4 คล้ายกับเป็นการประกาศชัยชนะให้โลกได้รับรู้และนี่คือความคลาสสิกที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว เหมือนจะซับซ้อนแต่ฟังง่าย ช่วยผ่อนคลายสมองได้ดีทีเดียว

2. Twinkle Twinkle Little Star - Mozart

เพลงคลาสสิกที่อัดแน่นไปด้วยความหมายอันแสนลึกล้ำ ไม่แปลกที่ยังคงเป็นเพลงที่มีคนนำมาบรรเลงและได้รับความนิยมมากระทั่งปัจจุบันนี้ โดยมักนำไปประกอบในเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กๆ ด้วยดนตรีบรรเลงที่มีน่าสนใจบวกกับความสดใส เข้าใจง่าย อย่างไรก็ตามเนื้อหาของเพลงหากฟังในท่อนแรกอาจรู้สึกไม่ได้ซับซ้อนเท่าไหร่นักแต่เมื่อผ่านท่อนดังกล่าวไปจะเริ่มสัมผัสได้ทันทีว่าความซับซ้อนของเพลงค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่มันก็กลายเป็นเสน่ห์ให้คนรู้สึกหลงใหลชนิดว่าฟังแล้วระรื่นหู ไม่มีความยุ่งเหยิงเจือปนอยู่แต่ประการใด

3. Also Sprach Zarathustra – Richard Strauss

ด้วยดนตรีบรรเลงที่ดูล้ำสมัยสุดๆ แต่กลับทำให้ผ่อนคลายสมองแล้วล่องลอยไปตามจินตนาการได้เป็นอย่างดี สังเกตว่าเพลงนี้มักนำมาใช้เปิดตัวกับภาพยนตร์ที่ดูจะล้ำหน้าไฮเทคแห่งยุคเสียหน่อย ด้วยความพิเศษบวกกับการเข้าใจในท่วงทำนองที่พยายามสื่อสารออกมาอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่ความคลาสสิกของเพลงที่ทำให้เกิดความน่าสนใจเท่านั้นแต่มันค่อยๆ หยั่งรากลึกเข้าไปในความทรงจำของคนฟังจนหลาย ๆ คนยกให้เป็นเพลงโปรดที่ฟังเมื่อไหร่ก็รู้สึกสบายใจเมื่อนั้น ไม่เชื่อคุณก็ลองฟังดูแล้วจะติดใจกับเพลงนี้อย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น

4. Wedding March – Richard Wagner

เพลงคลาสสิกที่ฟังดูคุ้นหูสุดๆ ในงานแต่งงาน เชื่อว่าใครก็ต้องเคยฟังเพลงนี้อย่างแน่นอนด้วยเนื้อหาอันอ่อนละมุนแต่ผสมผสานไปด้วยกลิ่นอายแห่งความรัก ความเข้าใจระหว่างคู่บ่าวสาวที่ค่อยๆ เดินจูงมือกันเพื่อประกาศให้โลกได้รู้ว่าพวกเขายินดีปรีดามากขนาดไหน เนื้อหาเพลงบรรเลงด้วยเปียโนแสนไพเราะเหมาะสมกับความคลาสสิกและผ่อนคลายสมองด้วยประการทั้งปวง

ดนตรีคลาสสิกยังมีลูกเล่นและความน่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย เชื่อว่าหากมีโอกาสได้ลองฟังจะทำให้คุณเองสัมผัสถึงท่วงทำนองอันแสนพิเศษได้อย่างแน่นอน

Program for presenting popular multimedia

ในการเรียนหรือการทำงานเราก็มักจะเจอกับการคิด วิเคราะห์ มากมายให้เราได้เจอในแต่ละวัน แต่กระบวนการคิดนี่เอง หากเป็นวิธีแบบเดิม เราก็มักจะพบกับวิธีการสื่อสารแต่อาจจะยากต่อการเข้าใจให้ผู้ฟังได้เข้าใจวิธีคิดต่าง ๆ ที่เราต้องการจะสื่อ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านไป เทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่นกันกับการนำเสนอผลงานก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน และในบทความนี้เองเราก็มีโปรแกรมในการนำเสนอผลงานมัลติมีเดียยอดนิยม ที่หลายคนนิยมเลือกใช้มานำเสนอ และนำมาใช้สื่อสารกับผู้รับผมเพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยโปรแกรมที่เรานำมาแนะนำก็มีดังต่อไปนี้

  • Microsoft PowerPoint ถือเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่รับความนิยมตลอดกาล ด้วยความที่โปรแกรมเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ผลงานที่ออกมาโดยการใช้ PowerPoint กลับออกมาด้วยความสวยงาม และสามารถจัดการได้ทั้งรูปภาพ วิดีโอ หรือข้อความให้ออกมาในรูปแบบที่สวยงามได้
  • Adobe Dreamweaver เป็นโปรแกรมที่จะทำให้เราสามารถนำสื่อมีเดียต่าง ๆ นำเสนอออกมาในรูปแบบของการสร้างเว็บไซต์ แต่ด้วยความเป็น tool สำเร็จรูปจึงง่ายต่อผู้เริ่มต้น และสามารถนำเสนอสื่อให้กับผู้ชมได้อย่างเต็มที่
  • Adobe Flash เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานทางด้านกราฟิค และการสร้างวิดีโอได้เป็นอย่างดีที่จะทำให้งานที่นำเสนอเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ความพิเศษอย่างหนึ่งของโปรแกรมนี้ก็คือ สามารถทำอนิเมชันได้ ซึ่งนอกจากจะมีความโดดเด่นด้านนี้แล้วก็ยังสามารถประยุกต์การทำงานร่วมกับการโค้ดได้ด้วย
  • Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่จะช่วยให้งานภาพของคุณดูสวยงามขึ้นไปอีกจากการแต่งเติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปในผลงานภาพของคุณ นอกจากความสวยงามก็ยังสามารถสร้างงานภาพให้โดดเด่น จนกลายเป็นงานปกนิตยสาร งานสื่อสิ่งพิมพ์ งานรีทัชตกแต่งต่าง ๆ
  • After Effect เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับงานตัดต่อวิดีโอเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับงานวิดีโอที่เราจัดทำ ด้วยการใส่ลูกเล่น เช่น การใส่เสียง ใส่ตัวหนังสือ หรือการใส่ซาวด์ดนตรี การใช้โปรแกรมนี้เป็นทำให้งานดูน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น ใช้ในงานโฆษณาของสื่อต่าง ๆ ได้อย่างดีเลยทีเดียว

มาถึงตรงนี้หลายท่านคงจะได้รู้จักกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะใช้มาทำสื่อมีเดียให้น่าสนใจ เป็นที่ดึงดูดกับการตลาดที่เปลี่ยนไป และให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาที่เราต้องการที่จะสื่อสารด้วยมากที่สุดผ่านสื่อที่เรานำเสนอออกมานั่นเอง  ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวก็มีความยากง่ายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งานเครื่องมือของแต่ละคนให้เหมาะสมกับงาน

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาให้ก้าวหน้ารวดเร็วอยู่เรื่อยๆ ก็คงหนีไม่พ้น “มัลติมีเดีย” ซึ่งมัลติมีเดียหรือสื่อประสมที่ว่านี้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ การรวมสื่อหลายๆ ชนิดประสมเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร เสียง วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว และรูปภาพ โดยผ่านการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ในเมื่อมีสื่อหลายชนิดรวมกันแบบนี้แล้วเราจะใช้ให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดได้อย่างไรกัน บทความนี้เรามีเทคนิคการใช้มัลติมีเดียให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดมาฝากกัน

เทคนิคการใช้งานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  1. ใช้ในด้านการศึกษา – การใช้มัลติมีเดียในด้านการศึกษาถือเป็นการนำองค์ประกอบทั้งหมดมาใช้เลยก็ว่าได้ ตั้งแต่การสมัครเรียน ที่ต้องมีการกรอกข้อมูลด้วยตัวอักษร บางสถานศึกษามีรูปภาพร่วมด้วย การเรียนการสอนที่ต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สื่อวิดีโอสอน ซึ่งก็มีทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงผู้ใช้รวดเร็วขึ้นสร้างความน่าสนใจ หรือจะใช้ตรวจข้อสอบปรนัยใช้ตัดเกรดสำหรับผู้สอนที่มีจำนวนผู้เรียนเยอะเกิดความสะดวกสบาย
  2. ใช้ในด้านการแพทย์ – แน่นอนว่าหากนำมัลติมีเดียใช้ในด้านนี้ต้องเกิดประสิทธิภาพที่สุด นั่นคือ การนำมาใช้ในการตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ ส่องกล้อง การเก็บข้อมูลผู้ป่วย วิจัยเชื้อต่างๆ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องมีตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว เช่น การส่องกล้องในร่างกายผู้ป่วย การตรวจเชื้อในห้องแล็ปโรงพยาบาล แม้แต่อุปกรณ์ในห้องผู้ป่วย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่ต้องใช้คลื่นวิทยุ
  3. ใช้ในด้านธุรกิจ – การใช้มัลติมีเดียสร้างรายได้ สร้างอาชีพ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ อย่างธุรกิจสิ่งพิมพ์ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกล มัลติมีเดียจะช่วยให้คนสนใจในงานมากขึ้น เช่น E-Book, E-Magazine หรือธุรกิจทางด้านโฆษณา การตลาด ที่พอใช้มัลติมีเดียมีวิดีโอ มีเสียง แม้แต่ภาพเคลื่อนไหวตามตึกต่างๆ ช่วยให้คนสนใจสินค้านั้นๆ ด้วยเช่นกัน หรืออย่างการนำเสนองาน เสนอสินค้า ก็สามารถใช้มัลติมีเดียโดยการประชุมทางไกล เห็นกัน ได้ยินเสียงกัน
  4. ใช้ในด้านความบันเทิง – นอกจากมัลติมีเดียจะช่วยในเรื่องวิชาการๆ ได้แล้ว ก็ยังช่วยให้เกิดความบันเทิงได้ด้วย อย่าง การทำละครโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอเพลง เกมส์ต่างๆ แม้แต่การร้องเพลงผ่านเครื่องมัลติมีเดียก็ย่อมได้ การที่เราสร้างโลกเสมือนจริง โดยการให้ผู้ใช้งานมีอุปกรณ์เสริมร่วมด้วย เช่น ใส่ถุงมือ และสวมแว่นตา แล้วสร้างสถานการณ์จำลอง ซึ่งการทำมัลติมีเดียในเรื่องเสมือนจริงนี้จึงสำคัญมากที่จะทำให้ผู้ใช้งานเชื่อได้ว่าอยู่ในนั้นจริงๆ ซึ่งต้องรวม 5 องค์ประกอบเข้าด้วยกันอย่างสูงสุด

ทั้งนี้ เรายังสามารถใช้มัลติมีเดียในงานสถาปนิก อย่างการจำลองตึก อาคาร หรือการฝึกอบรมต่างๆ ซึ่งเป็นสื่อที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์กับโสตทัศนูปกรณ์ โดยมีการผสมผสานระหว่างภาพเคลื่อนไหว ข้อความ เสียง และวิดีโอต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นการนำมัลติมีเดียมาใช้จนเกิดประสิทธิภาพที่สุด

เวลาทำงานอะไรก็ตาม อุปกรณ์การทำงานเป็นสิ่งที่มืออาชีพ ไปจนถึงมือสมัครเล่นต้องมีไว้เป็นของคู่กาย เปรียบไปก็เหมือนดาบประจำตัวของนักดาบนั่นแหละต้องมีไว้ไม่งั้นจะไปสู้รบกับใครเค้าได้ งานด้านมัลติมีเดียเองก็เช่นกัน มาดูกันว่างานมัลติมีเดียต้องมีอุปกรณ์คู่ใจอะไรบ้าง

คอมพิวเตอร์

แม้ว่างานมัลติมีเดียบางอย่าง เราจะสร้างสามารถสร้างอย่างง่ายผ่านสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต แต่เอาเข้าจริงหากเราต้องการงานที่มีความละเอียด คอมพิวเตอร์ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ดี(คอมเปรียบเสมือนสมองอีกก้อนหนึ่งของงานเรา) ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะบอกเลยต้องมีไว้สักเครื่องหนึ่งที่แรงๆ ไม่งั้นเวลาประมวลผลจะใช้เวลานานจนทำให้เครื่องค้างเสียเวลาทำงานไปอีก

อุปกรณ์การวาด

งานมัลติมีเดีย จะว่าไปมันก็คือการสร้างงานศิลปะดิจิตอลประเภทหนึ่ง เมื่อพูดถึงงานศิลปะพื้นฐานแรกสุดต้องเป็นเรื่องการวาดภาพ สำหรับการสร้างงานเหล่านี้เราคงไม่คาดหวังว่าจะวาดได้จากเมาส์หรือทัชแพดใช่ไหม ต้องมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการวาดไว้ด้วยไม่ว่าจะเป็นดินสอ แผ่นรองวาด โปรแกรมรองรับการวาด สามอย่างนี้จะทำให้ภาพวาด ภาพร่าง ภาพลายเส้นของเราทำออกมาได้เร็ว สวย มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กล้อง

อีกหนึ่งอุปกรณ์ทำงานต้องมีนั่นก็คือ กล้อง เราขอเหมารวมทั้งกล้องถ่ายภาพนิ่งและกล้องวิดีโอทั้งสองตัวนี้จะช่วยให้เราสร้างวัตถุดิบสำหรับการสร้างงานได้มากขึ้น ภาพนิ่งแม้จะถ่ายจากโทรศัพท์ได้แต่ถ่ายจากกล้องยังไงก็ดีกว่า ปรับแต่งได้มากกว่า ยิ่งภาพเคลื่อนไหวกล้องวิดีโอคุณภาพสูงจะทำให้ง่ายมัลติมีเดียของเราง่ายขึ้นเยอะ เอาง่ายๆหากเราจะทำโฆษณาสักเรื่อง เราคงไม่เอากล้องโทรศัพท์ถ่ายหรอกจริงไหม แม้ว่ามันจะทำได้ดีก็ตามที

ไมค์ และ ลำโพง

เสียงเป็นอีกอย่างสำคัญของงานมัลติมีเดีย งานภาพดี เสียงห่วยงานก็ดร็อปลงไปเป็นธรรมดา ทีนี้จะทำให้งานเสียงออกมาดีคำตอบก็คือ เราต้องมีอุปกรณ์สำคัญทั้งไมค์ที่ทำหน้าที่อัดเสียงได้ดี ตัดเสียงรบกวนออก เพื่อให้เราทำวัตถุดิบด้านเสียงได้ดีขึ้น (มาตัดเสียงรบกวนออกเองทีหลังงานใหญ่นะ) สองลำโพงจะเป็นตัวทดสอบระบบเสียงว่าเราทำอะไรลงไปกับงาน ออกมาเหมาะสมแค่ไหน เป็นต้น

หนังสือภาพ

อุปกรณ์ตัวสุดท้าย หลายคนอาจจะคิดว่ามันจำเป็นด้วยเหรอ สำคัญด้วยเหรอ นั่นก็คือ หนังสือภาพ อันนี้แหละสำคัญเวลาเราทำงานมัลติมีเดีย งานด้านศิลปะความคิดมันก็อาจจะตื้อ ตันได้ตลอดเวลา การได้หยิบหนังสือภาพ หนังสือเกี่ยวกับงานศิลปะมาอ่านนอกจากผ่อนคลายความเครียด ภาพเหล่านี้อาจส่งให้เราเกิดไอเดียงานใหม่ขึ้นมาต่อยอดให้ดีกว่าเดิมก็เป็นได้ ใครจะทำงานมัลติมีเดีย เช็คก่อนเลยอุปกรณ์มีพร้อมหรือยัง

แม้ว่าโลกจะพัฒนาเทคโนโลยีไปไกลมากหากเรามองย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่เนื้อหาบางอย่างก็ยังต้องเรียนรู้อยู่ดีเพียงแต่มีรายละเอียดมากขึ้น มัลติมีเดีย หรือ สื่อผสมเองก็ต้องมีการพัฒนาตัวเองด้วยเหมือนกัน มัลติมีเดียยุค 4.0 เค้าต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

การใช้ภาพอินโฟกราฟฟิค

ยุคก่อนการนำเสนอมัลติมีเดีย เนื้อหาเป็นเรื่องสำคัญเราอาจจะเน้นเนื้อหาติดกันเป็นพรืด ปัจจุบันแนวคิดนั้นใช้ไม่ได้แล้ว การนำเสนอเนื้อหาบนมัลติมีเดียยุคนี้ ต้องเป็นการสร้างภาพอินโฟกราฟฟิคเท่านั้น อินโฟกราฟฟิคเหล่านี้จะทำให้การนำเสนอข้อมูล สถิติ น่าสนใจ น่าติดตามมากขึ้น รวมถึงทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจทำงานได้ง่ายมากขึ้น ส่งผลให้มัลติมีเดียประสบความสำเร็จอย่างมาก

ภาพเคลื่อนไหว

เมื่อก่อนการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวอาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะอุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวยแต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ ภาพเคลื่อนไหวทั้งสร้าง ถ่ายทำ ตกแต่ง อัพโหลด นำเสนอ เราสามารถทำได้บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตสักเครื่อง หากเราทำมัลติมีเดียยุค 4.0 เราต้องรู้จักการทำภาพเคลื่อนไหวที่น่าสนใจให้ได้ ภาพเคลื่อนไหวที่ดีจะทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่าย คล้อยตามได้ง่าย

อีกหนึ่งภาพเคลื่อนไหวมาแรงมากยุค 4.0 ไปจนถึงยุค 5.0 นั่นก็คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบเสมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นภาพตัวการ์ตูน ภาพสัตว์ หรือ ตัวอวตารอย่างที่ใจต้องการ ภาพเคลื่อนไหวแบบนี้มาแน่นอนในยุคต่อไป คนทำมัลติมีเดียต้องศึกษารอไว้เลย

การตอบสนอง

มัลติมีเดียอดีตจะเป็นการนำเสนอสารเพียงแค่ด้านเดียว กล่าวคือเราอยากสื่ออะไรออกไปก็ทำอย่างนั้น ตัดภาพกลับมายุค 4.0 การนำเสนอทางเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีการตอบสนองต่อกัน หรือ สื่อสารเป็นสองทาง เพื่อเช็คว่ามัลติมีเดียของเรานั้นมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเสียงตอบรับกลับมาจะทำให้เราพัฒนาตัวเองให้สื่อมัลติมีเดียชิ้นต่อไปทำออกมาได้ดีขึ้น ตอบสนองผู้รับสารได้มากขึ้น

การผสมเสียง

หากเราต้องการทำชิ้นงานมัลติมีเดียให้สมบูรณ์ เสียงเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้เลย เสียงมีผลต่ออารมณ์ของคนเสพงานมัลติมีเดียของเราด้วย หากเราเลือกเพลงให้สอดคล้องกันจะยกระดับให้มัลติมีเดียออกมาดีมาก กลับกันหากทำงานเสียงออกมาดี ผสมเสียงกับงานไม่เหมาะสม ก็จะทำให้คนเบือนหน้าหนีงานมัลติมีเดียเราไปอย่างเร็ว

ตอบสนองตลาด

งานมัลติมีเดียหากจะให้ดี เราต้องผลิตชิ้นงานให้ตอบสนองตลาดด้วย ดังนั้นคนทำงานมัลติมีเดียยุค 4.0 อาจจะต้องลองเปิดตำราศึกษาความรู้ด้านการตลาดเอาไว้ด้วย อย่าลืมว่างานดีแต่ตลาดไม่เอา สู้งานระดับปานกลางแต่ตอบสนองตลาดไม่ได้ ลูกค้าเลือกงานอย่างหลังไว้ก่อน ย้ำอีกทีหากเราบาลานซ์ระหว่างงานศิลปะมัลติมีเดียกับตลาดไว้ด้วยกันได้ นั่นแหละคือสุดยอดนักทำมัลติมีเดียยุค 4.0

Multimedia คือ สื่ออันเกิดจากการแสดงผลข้อความ , ภาพ และเสียง อย่างพร้อมเพรียงกัน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง  ด้วยการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ , ภาพยนตร์ , สไลด์ , ประกอบเสียง ตลอดจนการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการสาธิตหรือการสอน

โดยหลายๆคนมีความเข้าใจผิดคิดว่า Multimedia คือ การทำงานที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่สื่อประเภทอื่นๆ เช่น เครื่องโทรทัศน์หรือวิทยุก็จัดว่าเป็น Multimedia เช่นเดียวกัน หากแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยัง เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในการนำมาผลิตสื่อ , นำเสนอรวมทั้งสร้างให้เกิดการติดต่อสื่อสารมากที่สุด เนื่องจากมันขีดความสามารถที่รองรับการทำงานได้อย่างหลากหลาย

ประโยชน์ของสื่อ Multimedia

Multimedia เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้

  • เสนอความน่าดึงดูดใจให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหา , ภาพนิ่ง , คำถาม , ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
  • นำเสนอข่าวสารในรูปแบบเรียน Multimedia
  • สร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อความบันเทิง
  • สร้างสื่อโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ต่างๆได้อย่างยาวกว้างไกล เป็นต้น

สำหรับการนำสื่อ Multimedia มาผสมผสานใช้งานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น มีมากมายหลากหลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับเจตจำนงของการนำไปใช้งาน เช่น สื่อ Multimedia ซึ่งผลิตออกมาเป็นบทเรียนสำเร็จรูปอย่าง CD-ROMPackage เป็นต้น สำหรับกลุ่มผู้ใช้ในกลุ่มการศึกษา สื่อ Multimedia ซึ่งผลิตขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลสำหรับโฆษณาในแวดวงธุรกิจ เป็นต้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยผลักดันประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิผลเพื่อลงทุนอีกด้วย โดยประโยชน์ที่จะได้รับจาก Multimedia นำมาประยุกต์ใช้งานได้ดังนี้…

ง่ายต่อการใช้งาน

เป็นการนำ Multimedia มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพกับประสิทธิผล ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องจัดรูปลักษณ์ให้มีความเหมาะสม รวมทั้งง่ายต่อการใช้งานตามจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติงาน

สัมผัสได้ถึงความรู้สึก

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการนำ Multimedia มาประยุกต์ใช้งาน ก็คือ ทำให้ผู้ใช้งานรับรู้ได้ถึงความรู้สึก จากการสัมผัสต่อวัตถุที่ปรากฏให้เห็นอยู่บนจอภาพ เช่น รูปภาพ , Icon , ปุ่ม เป็นต้น จึงทำให้ผู้ใช้งานควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ตามความต้องการ เช่น ผู้ใช้คลิกปุ่ม Play เพราะต้องการรับชม VDO เป็นต้น

สร้างเสริมประสบการณ์ในด้านต่างๆ

ด้วยการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Multimedia ถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติอันแตกต่างกัน ตามแต่ล่ะวิธีการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานจะได้รับอย่างแน่นอน ก็คือ ได้สั่งสมประสบการณ์ในแง่มุมอันแตกต่างกัน โดยจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงวิธีใช้งานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เช่น ผู้ใช้งานเคยศึกษาวิธีใช้ปุ่มต่างๆบน Key Board เพื่อเล่นเกมบนเครื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน ต่อมาเมื่อได้มาพบเกมออนไลน์ก็สามารถเล่นได้อย่างสบายๆหรือใช้เวลาปรับตัวให้คุ้นชินเพียงไม่นานก็เล่นได้

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความชอบในเรื่องออกแบบ รวมทั้งหลงใหลในศิลปะและสื่อ Multimedia สาขาวิชาที่คุณควรสนใจเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ Graphic designer โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สาขาวิชา Graphic designer ได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียง ทั้งในเรื่องของการพัฒนารวมทั้งผลิตนักศึกษาซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์สูงออกมายังตลาดแรงงานมากมาย

Multimedia graphic designer ต้องเรียนอะไรบ้าง ?

สาขานี้เป็นหนึ่งในสาขาที่มีความยืดหยุ่นสูงอีกทั้งยังเต็มไปด้วยความหลากหลาย วิชานี้จึงเหมาะกับผู้ต้องการความรู้อันกว้างขวางในสาขาศิลปะ , สื่อรวมทั้งการออกแบบ เพราะสาขานี้กำลังเจริญเติบโตอย่างก้าวรวดเร็ว ทั้งในระดับสากล , ประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมหลักอย่างรุดหน้า

โดยสาขานี้จะสอนครอบคลุมเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษา ทั้งในระดับวิชาทั่วไปรวมทั้งการจัดการในโลกอุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์  จนถึงขนาดคุณสามารถเป็นศิลปินที่มีความสามารถในระดับสากล จากการสร้างสรรค์ทักษะด้วยพื้นฐานอันหลากหลาย คุณจะได้รับทักษะจากเรียนรู้ทั้งทฤษฎีกับภาคปฏิบัติซึ่งยังคงครอบคลุมทั้งวิจิตรศิลป์ , การออกแบบ รวมทั้งการตลาดเชิงผลิตภัณฑ์ตลอดจนสื่อต่างๆ

คุณสมบัติที่สำคัญอันเหมาะสม

สำหรับในระดับปริญญาตรี คุณจำเป็นต้องสอบผ่าน A-levels เพื่อนำไปใช้ในวิชาภาษาอังกฤษ หรือ ทำเป็นคะแนนเทียบเท่าเพื่อออกไปเรียนในประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษอย่าง IELTS  หรือ TOEFL  ตามที่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งกำหนดด้วย เพราะฉะนั้นคุณควรเริ่มฝึกพัฒนาภาษาอังกฤษเป็นอย่างแรก

ส่วนใหญ่แล้ว การเรียนต่อปริญญาตรี สาขา Graphic designer หรือสาขาอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกัน เรื่องคะแนนสอบเป็นสิ่งที่คุณต้องผ่านเกณฑ์  หากแต่ในเรื่องของประสบการณ์และ Portfolio นั้น จะกลายมาเป็นข้อสรุปสุดท้ายสำหรับสมัครของคุณ

หนึ่งในคุณสมบัติสำคัญซึ่งหลายคนมองข้าม ก็คือการเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะความจริงแล้วการเรียนศิลปะไม่ใช่การทำตามใจตัวเองไปเสียหมด หรืออยากวาดอะไรวาด หากแต่ต้องทำตามโจทย์ให้ได้ และต้องพร้อมต่อการเรียนรู้ในสิ่งไม่ถนัดบ้าง ด้วยเหตุนี้การเป็นน้ำไม่เต็มแก้วจึงสำคัญมาก

หลักสูตร

ทักษะพื้นฐานโดยทั่วไป คือ Media and Design theories , Digital art , Creative multimedia , Digital Communications , Project management , Art และวิชาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

โดยทั้งหมดนี้จะถูกสอนอยู่ภายในเนื้อหา ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนทางด้านธุรกิจในเบื้องต้น ทำให้การสร้างผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของคุณมีงานดีๆเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้คุณมีโอกาสที่ดีในการเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรม Graphic designer ได้ในอนาคต โดยกระบวนการออกแบบนี้ มีทั้งความคิดนอกกรอบ , การจินตนาเพื่อสร้างสรรค์ , ระดมความคิด, รวมทั้งกฎของการออกแบบขั้นพื้นฐาน ตลอดจนวิธีใช้สีสันต่างๆกับการพิมพ์ ให้มีความสวยงามกลมกลืนจนลูกค้าเกิดความประทับใจ

Multimediaมหาวิทยาลัยแม้จะเป็นสถาบันการศึกษา แต่ทุกแห่งก็ต้องปรับตัวทั้งด้านการบริหาร ด้านวิชาการให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันไปจนถึงอนาคตอันใกล้ ปัจจุบันสาขาวิชาเอกทางด้านมัลติมีเดียแม้จะเป็นที่นิยมมีการสอนหลายแห่งแต่ทำไมมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงถูกพูดถึงว่าน่าไปเรียนมากที่สุดแห่งหนึ่ง เรามีคำตอบ

ศิลปะ + วิทยาศาสร์เทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาการออกแบบนั้นแม้ว่าจะมองเป็นศิลปะเป็นหลัก แต่หากเรามองให้ลึกเข้าไปให้ถึงแก่นของสาระสำคัญของมัลติมีเดียจะรู้เลยว่ากว่าจะสร้างมัลติมีเดียขึ้นมาได้สักหนึ่งชิ้นงานนั้น เราต้องเรียนรู้ทั้งเรื่องของศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ ควบคู่กันอย่างลึกซึ้งทีเดียว ทางศิลปากรทราบดีจึงได้จัดวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งสองด้านเพื่อให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้อย่างครบถ้วนจนสามารถสร้างชิ้นงานที่ตอบสนองได้ทั้งด้านศิลปะ และ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาเปิดให้เรียน

งานออกแบบมัลติมีเดีย แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ของตลาดแรงงานบ้านเรา แต่ก็ยังหาที่เรียนไม่ง่ายเท่าไรนัก ซึ่งศิลปากรเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเปิดสาขาวิชาครอบคลุมตลาดแรงงานด้านมัลติมีเดียพอสมควรเลย ภาคภาษาไทยเปิดสามสาขาวิชาได้แก่ ออกแบบอนิเมชั่น ออกแบบเว็บและสื่อโต้ตอบ การออกแบบเกม ใครชอบงานมัลติมีเดียสายงานไหนก็เข้าไปศึกษากันได้เลย ซึ่งในอนาคตจะมีการเปิดสาขาเกี่ยวกับมัลติมีเดียเพิ่มเติมอีก

หลักสูตรนานาชาติ

นอกจากภาคภาษาไทย ศิลปากรยังเปิดวิทยาลัยนานาชาติสำหรับหลักสูตรอินเตอร์ภาคภาษาอังกฤษด้วยทางหนึ่ง สำหรับด้านมัลติมีเดีย ทางศิลปากรได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮมซิตี้ ประเทศอังกฤษ หลักสูตรนี้ผู้เรียนจะได้ศึกษาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทั้งจากเมืองไทย และ บินตรงมาจากอังกฤษ ยังไม่นับวิทยากรพิเศษอื่นที่จะทำให้การเรียนครั้งนี้ของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพระดับสากล

ความโดดเด่นทางด้านศิลปะ

แม้เราจะเกริ่นไปตอนต้นแล้วว่า งานทางด้านมัลติมีเดียนั้นจะต้องผสมผสานกันระหว่างศิลปะ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้พอดีกัน แต่หากจะวัดเรื่องงานศิลปะ ทางด้านมหาวิทยาลัยศิลปากรเค้าก็โดดเด่นไม่แพ้ใครนะ คณะครูบาอาจารย์ของที่นี่คือสุดยอดทางด้านงานศิลปะเช่นกัน เชื่อเลยว่าครูอาจารย์จะเคี่ยวกรำงานศิลปะดิจิตอลของเราจนออกมาสวยงามดั่งวาดเองบนผืนผ้าใบเลย

สังคมโดยรวมของมหาวิทยาลัย

ไปเรียนอย่างเดียวคงไม่ใช่ สภาพสังคมในมหาวิทยาลัยก็ต้องสอดคล้องกับเราด้วย มหาวิทยาลัยศิลปากรนับว่าเป็นอีกหนึ่งแห่งที่เหมาะสำหรับการไปเรียนอย่างมาก ยิ่งทางด้านศิลปะด้วยยิ่งเข้ากันไปใหญ่ เนื่องจากศิลปากรเค้าจะมีการจัดมุมเพื่อสร้างสุนทรียภาพของผู้เรียนทางด้านศิลปะให้เพิ่มมากขึ้น เราจะได้กลิ่นอายของงานศิลปะตั้งแต่ก้าวแรกที่พ้นประตูมหาวิทยาลัยเข้าไปเลยทีเดียว นอกจากนั้นระบบรุ่นพี่รุ่นน้องก็รักใคร่กลมเกลียวเหนียวแน่นตั้งแต่เริ่มเรียนจนจบออกจากมหาวิทยาลัย จะทำให้ผู้เรียนไม่ว่าจะมาจากไหนต้องได้รับความรู้สึกอบอุ่นดั่งพี่น้องของตัวเองอย่างแน่นอน

                ประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการนำเครือข่ายมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนมากจะใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสื่อโทรทัศน์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับข่าวสาร บริการ โฆษณาสินค้า หรือแม้กระทั่งการเรียนการสอนก็นำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้เช่นเดียวกัน มัลติมีเดียมีผู้ให้ความหมายสำหรับคำๆ นี้ไว้มากมาย ซึ่งสามารถจำแนกความหมายได้ดังนี้

  • มัลติมีเดียเป็นระบบการสื่อสารที่จะนำข่าวสารต่างๆ ผ่านทางสื่อสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลักๆ จะประกอบไปด้วย ข้อความ ข้อมูล กราฟแสดงสถิติ ภาพ และเสียงต่างๆ
  • มัลติมีเดียเป็นเครื่องมือคอมพิวเตอร์ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารในรูปแบบวิดีทัศน์ตามที่ผู้ควบคุมต้องการให้ผู้รับชมในสิ่งที่เขาต้องการ ระบบนี้มักจะเรียกกันว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์
  • มัลติมีเดียเป็นอุปกรณ์ซอฟแวร์ที่นำมาใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้รับการตอบสนองจากรู้ใช้งานคีย์บอร์ด และเมาส์

มัลติมีเดียมีความเป็นมาอย่างไร?

ในสังคมไทยปัจจุบันนี้สื่อของมัลติมีเดียมีบทบาทกับการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนการสอน วงการธุรกิจรวมถึงวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากส่วนใหญ่มักจะใช้สื่อมัลติมีเดียมาเป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารซึ่งอาจจะมาในรูปแบบต่างๆ ให้ผู้ที่เข้ามารับชม อบรม ประชุมหรือศึกษาได้เห็นภาพเสียงเพื่อให้ได้อรรถรส ได้เข้าใจกับสิ่งที่ถูกสื่อออกไปมากยิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของสื่อมัลติมีเดียนั้นเริ่มเกิดขึ้นมาเมื่อปี 2534 ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ซึ่งในตอนนั้นจะใช้ระบบปฏิบัติการ windows 3.0 เป็นโปรแกรมที่ไว้สำหรับใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ต่อมาในปี 2535 ทางผู้เชี่ยวชาญก็ได้พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นไปเปลี่ยนจากมัลติมีเดีย windows 3.0 มาเป็น windows 3.1 ในช่วงต้นปี 2536 ประมาณเดือนมีนาคม ด้วยการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดจึงทำให้สื่อมัลติมีเดียในขณะนี้มีคนมากมายในปัจจุบัน

องค์ประกอบที่จำเป็นของสื่อมัลติมีเดีย

องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดียเราสามารถนำมาจำแนกได้ 5 ชนิดด้วยกันซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • ข้อความ และตัวอักษร องค์ประกอบนี้จะมีบทบาทเป็นเนื้อหาของสื่อมัลติมีเดียวเอาไว้ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดต่างๆ เช่น ข้อความจากการพิมพ์คอมพิวเตอร์ ข้อความจากการแสกนเอกสาร และข้อความที่มีผู้คนใช้งานมากที่สุดคือ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพนิ่ง องค์ประกอบนี้จะแสดงเป็นภาพนิ่งๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น อาทิเช่น ภาพวาด รูปถ่าย ภาพที่วาดจากลายเส้นเป็นต้น
  • ภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพที่มีลักษณะเป็นกราฟฟิคเคลื่อนไหวได้ แต่ไฟล์จะมีขนาดใหญ่กว่าภาพนิ่ง
  • เสียง องค์ประกอบนี้ถือว่าเป็นตัวสำคัญสำหรับสื่อมัลติมีเดียเลยทีเดียว เพราะองค์ประกอบนี้ส่วนมากจะนำมาเสนอประยุกต์ใช้กับภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งให้มีความน่าสนใจในการนำเสนอมากยิ่งขึ้น
  • วีดีโอ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้กับเสียงเลย เพราะองค์ประกอบนี้จะสามารถนำเสนอได้ดีกว่าตัวอื่นๆ แต่องค์ประกอบนี้จะมีข้อเสียก็คือ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์มาก

ดังนั้นในบทความนี้สรุปได้ว่า สื่อมัลติมีเดีย มีการสื่อความหมายที่กว้างมากความหมายนั้นอยู่มุมมองของแต่ละบุคคลด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระบบสื่อมัลติมีเดียก็มีกระแสนิยมเป็นจำนวนมากทีเดียวในยุคสมัยปัจจุบัน เพราะจะมีผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการใช้งานให้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้ประโยชน์มากที่สุดนั่นเอง